วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติพระเจ้าทรงธรรม

สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
ฉบับพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มีพระนามเดิมว่า พระศรีศิลป์ เดิมบวชเป็น พระภิกษุอยู่ที่วัดระฆัง
มีความรอบรู้ทางด้านพระไตรปิฎกมาก จนได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระพิมลธรรมอนันตปรีชา
มีผู้ที่นิยมท่านมาก รวมทั้ง จหมื่นศรีสรรักษ์ยังได้ฝากตัวเป็นบุตรบุญธรรมของท่านด้วย
ในแผ่นดินของพระศรีเสาวภาคย์ จหมื่นศรีสรรักษ์และบรรดาลูกศิษย์ของท่านได้ซ่องสุม
กันที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แล้วจึงบุกเข้าไปยังพระราชวังหลวงและจับพระศรีเสาวภาค
ย์นำไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ แล้วอัญเชิญพระพิมลธรรมอนันตปรีชาให้ลาสิกขาบท
ขึ้นเสวยราชสมบัติแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปีขาล จุลศักราช 973 (พ.ศ. 2154) ทรงพระนามว่า
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และทรงแต่งตั้งจหมื่นศรีสรรักษ์เป็น พระมหาอุปราช
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมมีพระราชโอรส 3 พระองค์
ได้แก่ พระเชษฐากุมาร พระพันปีศรีศิลป์ และ พระอาทิตยวงศ์ ส่วนจดหมายเหตุวันวลิตระบุว่า พระองค์
มีพระราชโอรส 9 พระองค์ พระราชธิดา 8 พระองค์
ตอนปลายรัชสมัยของพระองค์ ขณะที่พระองค์ทรงประชวรหนัก
ทรงมีพระราชประสงค์จะมอบราชสมบัติให้พระราชโอรสองค์ใหญ่ คือ
พระเชษฐาธิราชกุมาร โดยทรงมอบให้ออกญาศรีวรวงศ์ จางวางมหาดเล็ก
ซึ่งเป็นพระญาติที่ไว้วางพระทัยเป็นผู้ดูแลพระเชษฐาธิราชจนกว่าจะได้ครองราชย์
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมครองราย์ได้ 17 ปี จึงเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.
2171 ซึ่งเป็นวันที่ชาวฮอลันดาได้บันทึกไว้
พระราชประวัติฉบับ...
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมมีพระนามเดิมว่า พระอินทราชา ทรงเป็นโอรสของพระเอกาทศรถ
พระเจ้าทรงธรรมคงเป็นโอรสที่เกิดจากพระสนม
การที่พระเจ้าทรงธรรมขึ้นมาครองราชย์ได้เพราะเจ้าฟ้าสุทัศน์พระราชโอรสอันเกิดจาก
พระมเหสีและได้รับสถาปนาเป็นพระมหาอุปราช ซึ่งมีสิทธิจะได้ครองราชสมบัติต่อนั้น
ถูกข้อหาขบถต่อพระราชบิดาจึงต้องเสวยยาพิษและสิ้นพระชนม์ไปก่อน
ก่อนหน้าที่สมเด็จพระเอกาทศรถจะเสด็จสวรรคต
พระอินทราชาได้เสด็จออกผนวชอยู่จนถึงรัชสมัยพระศรีเสาวภาคย์ เมื่อพระศรีเสาวภาคย์เสด็จสวรรคตแล้ว
พระศรีศิลป์และบรรดาเจ้านายขุนนาง ได้พร้อมใจกันอัญเชิญพระอินทราชาให้ทรงลาผนวช
และขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ. 2154 พระชนมายุได้ 29 พรรษา ทรงพระนาม พระเจ้าทรงธรรม
พระราชกรณียกิจ
ด้านพระพุทธศาสนา
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงเป็นนักปราชญ์ รอบรู้ในวิชาการหลายด้าน
มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงประพฤติราชธรรมอย่างมั่นคง
เป็นที่รักใคร่นับถือของบรรดาราษฎรและชาวต่างชาติ
พระกรณียกิจส่วนใหญ่ของพระองค์ มุ่งส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในด้านต่าง
ๆ เช่น โปรดเกล้าฯ ให้คัดลอกพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์เป็นจำนวนมาก
ทรงให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งมหาชาติคำหลวงถวาย นับเป็นวรรณคดีชิ้นสำคัญของสมัยอยุธยา
ได้มีผู้พบรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาสุวรรณบรรพต แขวงเมืองสระบุรี พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างมณฑปครอบรอบพระพุทธบาท พร้อมทั้งสร้างพระอุโบสถ พระวิหารการเปรียญ
กับกุฏิสงฆ์ ถวายให้เป็นสมบัติในพระพุทธศาสนา พระพุทธบาทสระบุรี จึงมีความสำคัญ
เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของพุทธศาสนิกชนตั้งแต่นั้นมาตราบถึงปัจจุบัน
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
พระองค์ทรงมีสัมพันธ์ไมตรีกับบรรดาต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทย
ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองท่าที่สำคัญในภูมิภาคแถบนี้ของโลก
ชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะฮอลันดา อังกฤษและญี่ปุ่น
ที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ
พระองค์ก็ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก
ริมคลองปลากด เหนือเมืองสมุทรปราการ ให้ชาวฮอลันดาตั้งคลังสินค้า และในปี พ.ศ.
2115 พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ได้มีพระราช -สาสน์ทูลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พ่อค้าชาวอังกฤษเข้ามาค้าขายที่กรุงศรีอยุธยาได้สะดวก
ส่วนชาวญี่ปุ่น ปรากฏว่ามีชาวญี่ปุ่นสมัครเข้ารับราชการที่กรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก
จนได้มีการจัดตั้งกรมอาสาญี่ปุ่น ขึ้นมาช่วยราชการกรุงศรีอยุธยา
ชาวญี่ปุ่นที่มีบทบาทสำคัญในวงการเมืองในรัชสมัยของพระองค์ คือ ยามาดะ
นางามาซะ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกญาเสนาภิมุข
ด้านราชการสงคราม
เนื่องจากพระองค์ไม่นิยมการทำสงคราม
ด้วยเหตุนี้กรุงศรีอยุธยาจึงต้องเสียเมืองทวาย อันเป็นเมืองท่าที่สำคัญทาง
ตะวันตกในทะเลอันดามันพม่ายกกำลังมาตีเมืองทวายได้เมื่อปี พ.ศ. 2165
ต่อมา กัมพูชาและเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเคยเป็นเมืองประเทศราชมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรต่างก็พากัน
แข็งเมืองไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา
ความสำคัญของพระราชสาสน์สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมถึงอุปราชโปรตุเกส
ในบรรดาเอกสารประวัติศาสตร์ที่เขียนเป็นภาษาไทยที่เก่าไปถึงสมัยอยุธยานั้น
นับว่ามีน้อยมากหากเทียบกับเอกสารประเภทอื่นๆ และมักกำหนดอายุได้ว่าเป็นเอกสารในคริสต์ ศตวรรษที่
๑๘ เป็นส่วนใหญ่ เช่น จารึกที่ฐานพระพุทธรูป ที่ระฆัง
หรือเอกสารประเภทบันทึกจดหมายซึ่งพบมากในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ เป็นต้นมา เช่น
ในบันทึกลายมือของออกพระวิสุทธสุนทร (ปาน) ที่เดินทางไปเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส
ที่หอสมุดโบดเลียน (Bodleian) มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ
เก็บรักษาต้นฉบับพระราชสาสน์นอักษรไทยไว้ฉบับหนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
เพราะอาจจะเป็นเอกสารอักษรไทยที่หลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่ฉบับเท่านั้นที่มีอายุเก่าถึงราวต้นคริสต์ศตวรรษที่
๑๗
นั่นคือพระราชสาส์นของพระมหากษัตริย์ที่ปรากฏพระนามในเอกสารว่า“สมเด็จพระเอกาทศรุทธอีศวรบรม
นาถบรมบพิตร”
ที่มาของเอกสาร
เมื่อราวปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ศาสตราจารย์ขจร สุขพานิชเดินทางไปค้นคว้าเอกสารไทยที่จัดเก็บอยู่ ณ
ต่างประเทศตามมหาวิทยาลัยต่างๆ
พบว่าที่ห้องสมุดโบดเลียนของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดนั้นจัดเก็บต้นฉบับพระราชสาส์นไว้ฉบับหนึ่ง
แต่ท่านก็มิได้ขอเอกสารนั้นมาดู เมื่อท่านข้ามาที่ประเทศฝรั่งเศสเพื่อค้นคว้าเอกสารที่หอสมุดแห่งชาติแล้ว
จึงพบสำเนาของพระราชสาส์นฉบั้บนั้นอีก
ครั้นกลับมาเมืองไทยได้ขอให้ทางหอสมุดแห่งชาติติดต่อไปที่ห้องสมุดโบดเลียนเพื่อขอสำเนา
เมื่อได้รับแล้วจึ งขอให้อาจารย์ประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน
พระราชสาส์นฉบับนี้พิมพ์ในนิตยสารศิลปากรปีที่ ๔ เล่ม ๓ (กันยายน ๒๕๐๓) หน้า ๔๓-๕๔
สิ่งที่ศาสตราจารย์ขจร สุขพานิ กล่าวว่า
ที่หอสมุดแห่งชาติประเทศฝรั่งเศสเก็บรักษาสำเนาพระราชสาส์นฉบับนี้ไว้นั้น เมื่อคราวที่ผู้เขียนเดินทาง
ไปค้นคว้าข้อมูลที่ประเทศฝรั่งเศสเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๓
ก็ได้สำเนาเอกสารฉบับนี้กลับมาที่เมืองไทยด้วยเช่นกัน เอกสารสำเนาพระราชสาส์นฉบับ
นี้ไว้ที่แผนเอกสารตะวันออก หอสมุดแห่งชาติริเชอลิเยอร์ กรุงปารีส (Division des Manuscrits Orientaux,
ห้องสมุดโบดเลียน, ออกซ์
Bibliotheque Nationale de Paris-Richelieu) รหัสเอกสาร Indo chinois 325 ซึ่งประกอบไปด้วยเอกสาร ๒ ฟอร์ด
ฉบับ มีรายละเอียดดังนี้
๑๖ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๘๙๘
สำเนาเอกสารฉบัส่วใหญ่ ๒ ฉบับนี้ถ่ายสำเนามาจากเอกสารนดินโปรตุเกส ของห้องสมุ๑๘ บรรทัน เป็นสำเนาพระราชสาสน์
๑.เป็นชิ้น บ นสำเนาพระราชสาส์นไปถึงพระเจ้าแผ่ MS. Siam d.I มีความยาว ด โบดเลีย ด
ของพระเจ้ากรุสำเนาจากหอสมุดโบดเลียแผ่ออกซ์ฟอร์ดกส พระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันมีพระราชประสงค์ขอสำเนาเอกสารเหล่านี้
งสยามส่งไปถวายพระเจ้า น นดินโปรตุเ รหัส Siam d.1
เพราะหนึ่งในนั้นได้ทรงเคยเห็นมาก่อนจากการที่ท่านสาธุคบรรทัด
๒. เอกสารลายมือจากที่เดียวกัน ความยาว ๙ ุณ ดอกเตอร์ Magrath ผู้อำนายการของควีนส์คอลเลจแห่งออกซ์ฟอร์ด
ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่้งงรองอธิบนี้ ขอสำเนาโดยพระราชประสงค์อดพระเนตรแผ่นดินพระองค์ปัจจุบัน
เอกสารทั ๒ ฉบั การของมหาวิทยาลัยได้ถวายให้ท ของพระเจ้า
ส่วนสำเนาเอกสารฉบับเล็กเท่านัมาจากห้องสมุดโบดเลียน เอกสารรหัส MS. OR. Polygl.c. I
เฉพาะข้อมูลข้อ ๑ กว่า ้นที่หมายถึงเอกสารพระราชสาส์น
ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินต้องพระราชประสงค์จช่นกันลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ซึ่งแสดงว่าพระบาทสมเด็ เ พระจุ
มีพระราชประสงค์ที่จะทรงขอสำเนาเอกสารต้นฉบับพระราชสาส์นนี้มาจากประเทศอังกฤษ
แต่ปรากฏว่าสำเนาที่จัดเก็บที่ปารีสนี้มีเพียงส่วนเดียวเท่านั้น นอกจากข้อความตอนนี้แล้ว ใน
เอกสารของหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีสยังแนบจดหมายจากหอสมุดโบดเลียนความว่า
อนึ่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ อาจารย์ภูธร ภูมะธนได้รับทุนจากบริติช เคาน์ซิล
ให้เดินทางไปค้นคว้าที่ประเทศอังกฤษ
ได้ขอสำเนาพระราชสาส์นนี้มาอีกครั้งหนึ่งโดยคิดว่าเป็นเอกสารสำคัญ และยังไม่ได้รับการเผยแพร่มาก่อน
อย่างไรก็ดีเมื่อนำกลับมาประเทศไทยแล้วได้ให้อาจารย์เทิม มีเต็ม นักภาษาโบราณ ๕ (ตำแหน่งขณะนั้น)
ศึกษาและอ่าน จากนั้นได้พิมพ์ในวารสารรวมบทความประวัติศาสตร์ ฉบับที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓
ในชื่อเรื่องว่า "เอกสารโบราณอักษรไทย ภาษาไทย รัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ จากห้องสมุดโบดเลียน
ประเทศอังกฤษ"
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ พิทยะ ศรีวัฒนสารได้เสนอวิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร์
มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้นำพระราชสาสน์ฉบับนี้ลงพิมพ์ในภาคผนวกของวิทยานิพนธ์ และอธิบายคำศัพท์ต่างๆ ไว้บางคำด้วย
ครั้งล่าสุดเมื่อ Henry Ginsburg พิมพ์หนังสือเรื่อง Thai Art & Culture : Historic Manuscripts
from Western Collections ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้ถ่ายสำเนาพระราชสาสน์ฉบับนี้รวมไว้ในเล่ม
นับได้ว่าเป็นการอนุรักษ์ต้นฉบับอย่างสมบูรณ์ที่สุด และจะเป็นเอกสารที่ผู้เขียน ใช้ในการศึกษาครั้งนี้
ลักษณะเอกสาร
พระราชสาสน์ฉบับนี้เขียนบนกระดาษขาว ขนาด ๖๔x๒๖ เซนติเมตร ขอบด้านหนึ่งชำรุด
เขียนด้วยอักษรไทย รวมทั้งสิ้น ๔๖ บรรทัดเป็นอักษรสมัยอยุธยาอย่างไม่ต้องสงสัย
ต้นฉบับมีลักษณะพับเป็น ๔ ส่วน เฉพาะในส่วนที่ ๓ และ ๔
นั้นคือที่พบสำเนาที่หอสมุดแห่งชาติกรุงปารีสตามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้
าอยู่หัวทรงขอสำเนาไว้ อย่างไรก็ดี ขอบด้านขวาของพระราชสาส์นชำรุดค่อนข้างมาก
ทำให้ข้อความในเอกสารหลายตอนขาดหายไป
พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมไปถึงอุปราชโปรตุเกส
ช่วงปีรัชกาลตั้งแต่สมเด็จพระเอกาทศรถ และสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมนี้เป็นประเด็นปัญหามาแต่เดิม
ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมนั้นเอกสารของวันวลิต อธิบายไว้ว่า "ออกญาศรีวรวงศ์
มีเวลาพอในการเตรียมงานทั้งปวง และจัดการป้องกันทุกสิ่งอย่างก่อนพระเจ้าแผ่นดินสวรรคต
พระองค์เสด็จสวรรคตในวันที่ ๒๒ เดือนอ้าย ปีมะโรง...พระเจ้าอยู่หัวในพระโกศมีพระชนมายุได้
๓๘ พรรษา หลังจาที่ได้ทรงครงราชย์มาเป็นเวลา ๑๙
ปี" ปัญหาที่เกิดขึ้นคือปีที่ทรงครองราชย์นั้นมีบางเอกสารว่า ๙ ปี หรือ ๑๙ ปี
คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยได้ต รวจสอบเอกสารอื่นๆ เพิ่มเติมแล้วมีความเป็นว่าเป็น ๑๙
ปี ดังที่ปรากฏในเอกสารอื่นจึงสรุปไว้ว่าสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมนั้นขึ้นเสวยราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๕๓
และสวรรคตปี พ.ศ. ๒๑๗๑
หากเป็นไปตามข้อสรุปดังกล่าว
ก็เท่ากับว่าเอกสารพระราชสาสน์ฉบับนี้เป็นพระราชสาสน์ของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. ๒๑๕๓-
๒๑๗๑) ที่ทรงมีไปถึงอุปราชโปรตุเกส เมื่อปี ค.ศ. 1616 / พ.ศ. ๒๑๕๙
ประการที่ ๒ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอังวะ-สยาม-โปรตุเกส อาจจะช่วยกำหนดอายุของเอกสาร
และเข้าใจบริบททางประวัติศาสตร์ได้มากขึ้น
จากข้อมูลในพระราชสาสน์บรรทัดที่ ๑๔-๑๖ ความว่า “ การนี้ก็สมในพระราชหฤทัยอัน (ควร)
พึ่งมาแต่ก่อนทั้งปวงนั้นประการหนึ่งด้วยพระยาวีชเรหให้ทูลพระกรุณาความสองประการ...(บรรทัดที่๑๔)...
หนังสือพระอางวะมาถึงพระยาวีชเรหว่าจะขอเป็นไมตรีแลพระยาวีชเรหก็ไป่มิรับ แลให้งดไว้
แต่ทำไมลาปุนกร เมื่อใดแล้วมี...(บรรทัดที่ ๑๕) ว่าประการใดไซร้ จึงให้ทำตามนั้น (บรรทัดที่ ๑๖)”
ทำให้ตั้งข้อสันนิษฐานได้ว่ามี จดหมายจากเจ้าเมืองอังวะขณะนั้นไปถึงอุปราชโปรตุเกส
ที่เมืองกัวว่ามีความปรารถนาจะเจริญสัมพันธไมตรีกับโปรตุเกส
แต่ทางอุปราชโปรตุเกสไม่ประสงค์จะรับไมตรีนั้นหากยังมิได้ถามทางราชสำนักสยามก่อ น
ไมตรีที่เจ้าเมืองอังวะต้องการให้โปรตุเกสก็คือ การยกเมืองเมาะตะมะ ให้กับโปรตุเกส
เพราะเมื่อบุเรนองสวรรคตนั้น โอรสขึ้นครองราชย์สืบต่อมาได้พยายามขยายอำนาจไปตามหัวเมืองต่างๆ
ขณะนั้นสมเด็จพระมหาธรรมราชาก็ยังคงประทับที่กรุงอังวะโดยตลอด จากนั้นได้ทรงเตรียมการยึดเมืองพะ
โคและเมืองสิเรียม ซึ่งมีนายพลโปรตุเกสคือ ดือ บริตู (De Brito) เป็นเจ้าเมืองอยู่
หลังจากยึดเมืองสิเรียมได้แล้ว
กองทัพของพระเจ้าแผ่นดินพม่าจึงเคลื่อนพลลงไปยึดเมืองเมาะตะมะได้ในราวปี ค.ศ. ๑๖๑๓
แต่อย่างไรก็ดี การที่โปรตุเกสไม่รับเมืองนี้ไว้ คงมีเหตุผลที่ไม่แน่ใจหลายประการ
ประการแรก คือความสัมพันธ์ระหว่างโปรตุเกสกับอยุธยาอยู่ในภาวะที่ดี
เพราะมีเรือสินค้าเดินทางไปมาสม่ำเสมอ จึงเป็นเหตุให้โปรตุเกสเองยังคงผูกไมตรีกับอยุธยาอยู่
ประการที่สอง โปรตุเกสทราบดีว่าอยุธยากับอังวะ ยังคงมีสงครามต่อเนื่องกันมาโดยตลอด
การที่โปรตุเกสจะรับเมืองใดเมืองหนึ่งในดินแดนนี้
จึงเป็นอันตรายต่อโปรตุเกสเองที่จะทำการค้าอย่างเสรีต่อไปได้
ก่อนหน้านี้ราว ๕ ถึง ๖ ปี คือใน ค.ศ. ๑๖๐๗
มีพระราชสาสน์ฉบับหนึ่งจากพระเจ้าแผ่นดินโปรตุเกสไปยังผู้สำเร็จราชการที่เมืองกัว เรื่องเมืองเมาะตะมะ
ความโดยสรุปว่าโปรตุเกสมีดำริที่จะสร้างป้อมปราการขึ้นที่เมืองเมาะตะมะแห่งหนึ่ง
เพราะเมืองนี้มีผู้คนไม่หนาแน่น ขณะนั้นเป็นช่วงเวลาที่ฮอลันดามีบทบาททางการค้า
และใกล้ชิดกับราชสำนักอยุธยามาก ทั้งฮอลันดาก็ได้ต่อสู้กับพ่อค้าโปรตุเกสอยู่เนืองๆ
จึงทำให้โปรตุเกสยังไม่ สามารถตัดสินใจอันใดลงไปได้มากนัก
มีเอกสารอีกฉบับหนึ่งที่จะคลายปัญหา เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอังวะ-สยาม-โปรตุเกสได้
คือ สำเนาพระราชสาสน์พระเจ้ากรุงโปรตุเกส พระราชทานไปยังอุปราชอินเดีย ลงวันที่ ๑๗ มกราคม ค.ศ.
๑๖๑๘ ระบุเนื้อความต่อเนื่องจากพระราชสาสน์ของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมว่า
"อุปราช ดอน เจรอนนิมโม เดอ อาเยเนโด ผู้ครองอุปราชก่อนหน้าท่านได้มีหนังสือมาทูลเรา
โดยส่งมากับเรือวิอาสเมื่อปีที่แล้วเกี่ยวกับเรื่อง
พระเจ้ากรุงสยามกับพระเจ้ากรุงอังวะส่งราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรี
ระหว่างที่ทั้งสองกำลังทำสงครามรบพุ่งกัน และได้สัญญาว่าจะหาสินค้า
ให้...อย่างไรก็ตามเราขอให้ข้อสังเกตว่าที่พระเจ้ากรุงสยามจะยอมยกเมืองมะตะบันให้นั้น
ความจริงเมืองนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกรุงสยามส่วนพระเจ้ากรุงอังวะ
ผู้สืบเชื้อสายมาจากอาระคันนั้นเล่าขณะนี้ก็มิได้เสวยราชสมบัติต่อไปแล้ว... จะต้องเชื่อไว้ก่อนว่า
พวกโปรตุเกสจะไม่เข้าเป็นพวกกับ ฝ่ายตรงกันข้าม
ฉะนั้นทั้งสองฝ่ายจึงพยายามเอาใจพวกโปรตุเกสไว้เป็นอย่างมากขออย่าได้หลงเชื่อคำกล่าวของฝ่ายสยาม
ว่าจะยกเมืองมะตะบันให้ แต่ขอให้ใช้วิธีขู่พระเจ้ากรุงอังวะเป็นทำนองว่า
หากพระเจ้ากรุงอังวะไม่ยอมยกเมือง มะตะบันให้แก่อาระคัน ก็จะออกคำสั่งให้พวกโปรตุเกส
ซึ่งพระองค์กล่าวว่าเป็นฝ่ายพวกซีเรียมนั้น
ให้ลงมายึดเมืองมะตะบันไว้..." จากพระราชสาสน์จึงจะเห็นว่าเมืองเมาะตะมะนั้นเป็นเมืองที่
ทั้งสยามและอังวะต่างอ้างความชอบธรรมในการยึดครองอยู่เพราะอย่างน้อยในช่วงรัชกาลสมเด็จพระเอกท
ศรถนั้นเมืองเมาะตะมะยังคงเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาดังที่ปรากฏหลักฐานสอดคล้องกับพงศาวดารพม่าว่ากล่
าวที่เมืองเมาะตะมะจะตกเป็นของพระเจ้าอังวะก็เป็นปี ค.ศ. ๑๖๑๓ แล้ว
ประการที่ ๓ นั้น
ควรพิจารณาต่อไปว่าเนื้อหาของพระราชสาสน์ฉบับนี้อาจแสดงให้เห็นได้หลายประเด็นคือทั้งการเมือง
การค้าและการเจริญพระราชไมตรี
ดง เจโรนิโม ดือ อาเซเวโด อุปราชรัฐโปรตุเกสแห่งอินเดีย
เรื่องของการค้านั้น ปรากฏชัดเจนว่าพระเจ้าแผ่นดินอยุธยาพระราชทานสิทธิในการค้า
และสิทธิแก่ลูกค้าชาวต่างชาติมากขึ้นกว่าก่อน
ดังที่ปรากฏความว่าหากพ่อค้าชาวฝรั่งโปรตุเกสเดินทางเข้ามาค้าขาย
หรือถูกประทุษร้ายทรัพย์สินเงินทอง “อย่าให้ฆ่าฟันฝรั่งเสีย อนึ่งฝรั่งผู้ใดเข้ามาค้าขาย ครั้งแลฉุกไซร้
จะพระราชทานทรัพย์สิ่งสินค้าทั้งปวงให้ไปแก่บุตรภรรยาผู้ฉุกนั้น” แต่ขณะเดียวกันก็ห้ามบรรดาฝรั่งต่างชา
ติเบียดเบียนชาวอยุธยาด้วยเช่นกัน
การเจริญพระราชไมตรีของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมไปยังเมืองกัว หรือต่อไปยังโปรตุเกสนั้น
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้แต่งคณะทูตคือ “ได้ตกแต่งปาดตรีผเรผรันสีศกตุนุสิยะสังแลพระยาสมุทรสงคร
าม แลหลวงสัมฤทธิ์ไมตรี ขุนอนุชิตราชาแล...ณ บัตรพระราชสาสน์
แลราชมงคลบรรณามการไปถึงทองฝิหลิบ
พระยาประตุการให้แจ้งกิจคดีศรีสุภามิตรแลกิจการความ” เราทราบว่าบาทหลวงฟรานซิสโก ดา อนุง
ซิยาเซาออกเดิน ทางจากสยามเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายนค.ศ. ๑๖๑๖/พ.ศ. ๒๑๕๙ พร้อมกับคณะทูตสยาม
ซึ่งได้เดินทางไปพำนักที่เมืองกัวก่อนที่จะเดินทางไปโปรตุเกสต่อ
แต่ปรากฏว่าคณะทูตชุดนี้ต้องเดินทางกลับอยุธยา ดังปรากฏหลักฐานสำคัญในราชสาสน์อุปราชเมืองกัว
ส่งไปทูลเกล้าถวายพระเจ้ากรุงโปรตุเกส ลงวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๖๑๙ ว่า
"คณะราชทูตที่พระเจ้ากรุงสยามส่งมาเจริญสัมพันธไมตรีกับฝ่าพระบาท ได้เดินทางมากับเฟร ฟรานซิสโค
ดา อันนันซิอาเกา นักบุญ ซึ่งหม่อม ฉันได้จัดส่องให้กลับไปยังประเทศสยามแล้ว
ในการนี้หม่อมฉันได้กราบบังคมทูลมาให้ทรงทราบแล้วในพระราชสาส์นฉบับก่อนๆ
เพราะปรากฏว่าคณะราชทูตไม่ยอมเดินทางต่อไป หากคริสโต วันรีเบลโล ไม่เดินทางมาด้วย คริสโตวัน
รีเบลโลผู้นี้เป็นผู้ริเริ่มที่จะให้มีคณะราชทูตออกไปเจริญสัมพันธไมตรีกับโปรตุเกส
แต่ปรากฏว่าเขาไม่ได้เดินทางไปถึง
และด้วยเหตุนี้พระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการซึ่งพระเจ้ากรุงสยามมี
พระราชประสงค์จะส่งไปทูลเกล้าฯ จึงได้ส่งมากับเรือนำขบวน คือเรือเวีย ซึ่งได้รับสิ่งของดังกล่าวไปแล้ว
และได้กราบบังคมทูลมาให้ทรงทราบแล้ว และโดยเหตุที่คณะทูตได้เกิดล้มเจ็บขึ้นในเมืองนี้
และได้ขอร้องให้ปล่อยพวกเขากลับไป สภาสูงได้ประชุมกันแล้วมีความเป็นว่า
หม่อมฉันควรจะยอมตามคำเรียกร้อง..."
สรุปได้ว่าคณะราชทูตของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมได้ไปถึงเมืองกัวอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
แต่ล้มเจ็บลงและได้เดินทางกลับสยามในที่สุด ส่วน
พระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการนั้นได้ส่องต่อไปกับเรือของโปรตุเกสแล้ว
ซึ่งก็คงหมายถึงพระราชสาสน์ฉบับที่เหลืออยู่ทุกวันนี้นั่นเอง
สรุป
พระราชสาส์นฉบับที่จัดเก็บที่ประเทศอังกฤษ และมีสำเนาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสนั้น
เป็นพระราชสาส์นฉบับสำคัญที่สุดฉบับหนึ่งในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย
พระนามที่ปรากฏในพระราชสาส์นคือ สมเด็จพระเอกาทศรถซึ่งเชื่อกันว่าหมายถึงสมเด็จพระเอกาทศรถ
ผู้เป็นพระอนุชาธิราชในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แต่จากการศึกษาเนื้อความในพระราชสาส์น
สอบทานกับบริบททางประวัติศาสตร์แล้ว
เชื่อว่าเป็นพระราชสาส์นในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมที่มีไปถึงพระเจ้าดงฟิลลิปที่ ๒ แห่งโปรตุเกส
เนื้อหาของพระราชสาส์นฉบับนี้ กล่าวถึงพระราชไมตรีของทั้ง ๒ ประเทศที่ได้ดำเนินมาก่อนหน้านี้
และสถาปนาให้มีความมั่นคงเพิ่มมากขึ้นอีก
โดยมีการเพิ่มสิทธิทางการค้าและพระราชทานสิทธิแก่ชาวต่างชาติเพิ่มมากขึ้น
อันจะเป็นประโยชน์แก่ชาวต่างชาติมาอีกหลายศตวรรษ